วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2563

จะลงทุน กองทุนไหนดี?

ลือกลงทุนแบบจัดพอร์ต 
       
       ไปลงหุ้นไทยบ้าง ลงทองคำบ้าง ไปลงพันธบัตรรัฐบาลบ้าง ซึ่งการจัดสัดส่วนสินทรัพย์แบบนี้ เป็นการลงทุนที่ถูกต้องตามหลัก ช่วยให้ลดความผันผวนในพอร์ท และเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนในระยะยาว

สรุปสั้นๆ คือ
  1. จัดสัดส่วนกองทุนเป็นส่วนๆ โดยแบ่งตามประเภทสินทรัพย์
  2. ในแต่ละสัดส่วนประเภทสินทรัพย์ หาว่าควรลงกองไหน
  3. แล้วก็ลงทุนตามสัดส่วนที่วางไว้


ประเภทสินทรัพย์ตามหลักการแบ่งของสมาคมบริษัทจัดการลงทุนของไทย 

กลุ่มตราสารทุน (Equity) 

          เช่น หุ้น เป็นตราสารที่แสดงถึงความเป็นเจ้าของบริษัทนั้นๆ โดยสถิติที่ผ่านมา เป็นตราสารที่ให้ผลตอบแทนสูง แต่ความเสี่ยงก็สูงด้วยเช่นกัน
  • กองทุนตราสารทุนในประเทศ / ต่างประเทศบางส่วน – Equity Small – Mid Cap กลุ่มนี้เป็นกองทุนที่ลงในหุ้นไทยบริษัทที่มีขนาดมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดไม่เกิน 50,000 ล้านบาท ในรอบปีบัญชี มากกว่าหรือเท่ากับ 80% ขึ้นไป เน้นหุ้นขนาดเล็ก และ ขนาดกลางที่มีความผันผวนสูงแต่มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้น
  • กองทุนตราสารทุนในประเทศ / ต่างประเทศบางส่วน – Equity Large Cap ตรงข้ามกับ Equity Small – Mid Cap รอบนี้จะเป็นหุ้นของบริษัทในไทยที่อยู่ในดัชนี SET50 เน้นตัวขนาดใหญ่ หลายๆตัวที่เรารู้จักกันอยู่ในนี้เช่น PTT (ปตท.), CPALL (7-eleven), AOT (สนามบิน) เป็นต้น
  • กองทุนตราสารทุนในประเทศ / ต่างประเทศบางส่วน – Equity General ลงทุนในหุ้นของบริษัทในไทย ทั้งตัวเล็ก ตัวใหญ่ อาจจะคละๆกันไปได้
  • กองทุนรวมตราสารทุนต่างประเทศ – US Equity ลงทุนในตราสารทุนของประเทศอเมริกา ใครสนใจหุ้นมะกันต้องเลือก ไม่ว่าเป็น Facebook, Amazon อันโด่งดังที่เรารู้จักกัน
  • กองทุนรวมตราสารทุนต่างประเทศ – Japan Equity ลงทุนในตราสารทุนของประเทศญี่ปุ่น แดนอาทิตย์อุทัย เช่น SoftBank, Mizuho, Olympus
  • กองทุนรวมตราสารทุนต่างประเทศ – India Equity ลงทุนในตราสารทุนในประเทศอินเดีย
  • กองทุนรวมตราสารทุนต่างประเทศ – European Equity ลงทุนในตราสารทุนของประเทศกลุ่มประเทศยุโรป
  • กองทุนรวมตราสารทุนต่างประเทศ – Greater China Equity ลงทุนในตราสารทุนของประเทศกลุ่มประเทศเกรทเทอร์ไชน่า อันประะกอบไปด้วย จีน ฮ่องกง และไต้หวัน
  • กองทุนรวมตราสารทุนต่างประเทศ – Global Equity (MSCI World, ACWI) ลงทุนในตราสารทุนต่างประเทศทั่วโลกเน้นประเทศที่พัฒนาแล้ว ไทย เช่น อเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์
  • กองทุนรวมตราสารทุนต่างประเทศ – Emerging Market (MSCI Emerging based) ลงทุนในตราสารทุนต่างประเทศเน้นประเทศ Emerging Market หรือกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในทวีป เอเชีย ละตินอเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลาง และ แอฟริกาเป็นต้น
  • กองทุนรวมตราสารทุนต่างประเทศ – Asia Pacific Ex Japan (Asia pac ex Japan benchmark focused) ลงทุนในตราสารทุนกลุ่มประเทศแอเชียแปซิฟิคเช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน และ เกาหลี เป็นต้น โดยลงทุนในประเทศญี่ปุ่นต่ำกว่า 10% ของมูลค่าทรัพย์สินรวม
  • กองทุนรวมตราสารทุนต่างประเทศ – ASEAN Equity ลงทุนในตราสารทุนกลุ่มประเทศ ASEAN เพื่อนบ้านพวกเรา

กลุ่มตราสารทุนประเทศ (Sector)
       เน้นกระจุกการลงทุนอยู่ในหุ้นประเภทเดียว แต่ความเสี่ยงก็มากขึ้นด้วยเช่นกัน เหมาะสำหรับคนที่อยากลงทุนเป็น Theme ที่สนใจอยู่

  • Health Care ลงทุนในตราสารทุนกลุ่ม Healthcare ด้านการดูแลสุขภาพโดยเฉพาะ
  • Energy ลงในตราสารทุนกลุ่ม Energy หรือพลังงาน 

กลุ่มตราสารทุนประเภทกองทุนรวมดัชนี (Index Fund)

  • SET50 กองทุนที่มีวัตถุประสงค์ให้อัตราผลตอบแทนของกองใกล้เคียงกับอัตราผลตอบแทนของดัชนี SET50 มากที่สุด (SET50 คืออะไร กดไปดู คลิก)

กลุ่มตราสารหนี้ (Fixed Income)
      จะเอาเงินไปลงตราสารที่คนกู้ต้องจ่ายเงินกลับมาตามที่ตกลงไว้ โดยสถิติจะเป็นตราสารที่มีความเสี่ยงโดยรวมน้อยกว่าตราสารทุน มีทั้งแบบภาครัฐและเอกชน

  • กองทุนรวมตราสารหนี้ในประเทศ/ต่างประเทศบางส่วน – Short Term Government Bond ลงทุนในเงินฝากตราสารหนี้ของภาครัฐ และเฉลี่ยมีอายุแบบถ่วงน้ำหนัก ณ ขณะใดขณะหนึ่งไม่เกิน 1 ปี คือเป็นตราสารหนี้ภาครัฐเช่นพันธบัตรซึ่งปลอดภัยอยู่แล้ว แล้วยังอายุสั้นไม่เกิน 1 ปีอีก เน้นปลอดภัยไว้ก่อนแต่ผลตอบแทนอาจจะไม่ได้หวือหวา
  • กองทุนรวมตราสารหนี้ในประเทศ/ต่างประเทศบางส่วน – Short Term General Bond ลงทุนในเงินฝากตราสารหนี้ทั่วไป และเฉลี่ยมีอายุแบบถ่วงน้ำหนัก ณ ขณะใดขณะหนึ่งไม่เกิน 1 ปี คือเป็นตราสารหนี้ภาคเอกชนอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นมาจากของภาครัฐ แต่ยังอายุสั้นอยู่
  • กองทุนรวมตราสารหนี้ในประเทศ/ต่างประเทศบางส่วน – Mid Term General Bond ลงทุนในเงินฝากตราสารหนี้ทั่วไป และเฉลี่ยมีอายุแบบถ่วงน้ำหนัก ณ ขณะใดขณะหนึ่ง 1-3 ปี คือเป็นตราสารหนี้ที่เริ่มมีกำหนดจ่ายเงินไกลขึ้น ซึ่งปกติจะมีการให้ผลตอบแทนที่มากกว่าตราสารอายุสั้นกว่า เพื่อชดเชยความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น อาจไม่มีเงินจ่าย เรียกเท่ๆว่า Default
  • กองทุนรวมตราสารหนี้ในประเทศ/ต่างประเทศบางส่วน – Long Term General Bond ลงทุนในเงินฝากตราสารหนี้ทั่วไป และเฉลี่ยมีอายุแบบถ่วงน้ำหนัก ณ ขณะใดขณะหนึ่งมากกว่า 3 ปี ตัวนี้จะมีผลตอบแทนสูงกว่าตัวที่ผ่านๆมาๆ แต่ความผันผวนจากอัตราดอกเบี้ยก็จะมากที่สุดด้วยเช่นกัน
  • กองทุนรวมตราสารหนี้ในประเทศ/ต่างประเทศบางส่วน – Money Market Government ลงทุนในตลาดเงินหรือเงินฝาก ตราสารหนี้ภาครัฐของรัฐบาล พวกนี้เป็นตราสารที่ครบกำหนดระยะเวลาสั้นมากๆ ส่วนมากไว้จัดการเรื่องสภาพคล่องและแถมผลตอบแทนไปเล็กๆน้อยๆ บางทีเราใช้พักเงินได้ครับ
  • กองทุนรวมตราสารหนี้ในประเทศ/ต่างประเทศบางส่วน – Money Market General ลงทุนในตลาดเงินหรือเงินฝาก ตราสารหนี้ระยะสั้นทั่วไป ใช้พักเงินได้เช่นกัน บางทีผลตอบแทนพอๆกับฝากประจำ แต่ฝาก ถอนได้ทุกวัน กดปุ้ป วันรุ่งขึ้นได้เงินเลย
  • กองทุนรวมตราสารหนี้ต่างประเทศ – Emerging Market Bond Fully F/X Hedge ลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา Emerging Market และป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินมากกว่า 90% ของมูลค่าเงินลงทุนในประเทศ คือเอาเงินเราไปลงต่างประเทศให้ แล้วดูแลเรื่องค่าเงินให้เราด้วย ไม่ต้องห่วงบาทแข็งหรืออ่อน
  • กองทุนรวมตราสารหนี้ต่างประเทศ – Emerging Market Bond Discretionary F/X Hedge or Unhedge เหมือนตัวข้างบน แต่อาจจะป้องกันความเสี่ยงค่าเงินเพียงบางส่วน หรือตามดุลยพินิจของผู้ัจัดการกองทุน หรือ ไม่ป้องกันเลย
  • กองทุนรวมตราสารหนี้ต่างประเทศ -Global Bond Fully F/X Hedge ลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วและป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินมากกว่า 90% ของมูลค่าเงินลงทุนในประเทศ
  • กองทุนรวมตราสารหนี้ต่างประเทศ – Global Bond Discretionary F/X Hedge or Unhedge เหมือนตัวข้างบน แต่อาจจะป้องกันความเสี่ยงค่าเงินเพียงบางส่วน หรือตามดุลยพินิจของผู้ัจัดการกองทุน หรือ ไม่ป้องกันเลย เช่นกันครับ
  • กองทุนรวมตราสารหนี้ต่างประเทศ – High Yield Bond เน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่เป็น Non-investment grade / Unrated คือกลุ่มบริษัทที่มีความเสี่ยงสูงๆ เสี่ยงที่จะไม่ได้ตังค์คืน แต่พวกนี้ให้ผลตอบแทนสูงเช่นกัน

กลุ่มกองทุนรวมผสม (Allocation)
       กลุ่มนี้สำหรับคนไม่อยากจัดพอร์ทเอง อยากให้เขาจัดพอร์ทมาให้เลย ซื้อพวกนี้ไปตัวเดียว เดี๋ยวเขาช่วยจัดให้ครับลงตราสารทุนเท่าไร ตราสารหนี้เท่าไร

  • กองทุนรวมผสมในประเทศ/ต่างประเทศบางส่วน – Aggressive Allocation ลงทุนในหลักทรัพย์และทรัพย์สินตลอดจนการหาดอกผลโดยวิธีอื่น โดยมีไว้ตราสารทุนได้ 0-100% สายบู๊เลือกกลุ่มนี้ได้ครับ
  • กองทุนรวมผสมในประเทศ/ต่างประเทศบางส่วน – Moderate Allocation ลงทุนในหลักทรัพย์และทรัพย์สินตลอดจนการหาดอกผลโดยวิธีอื่น โดยมีไว้ตราสารทุนได้ 25% – 80% อันนี้เป็นสายกลางๆ
  • กองทุนรวมผสมในประเทศ/ต่างประเทศบางส่วน – Conservative Allocation ลงทุนในหลักทรัพย์และทรัพย์สินตลอดจนการหาดอกผลโดยวิธีอื่น โดยมีไว้ตราสารทุนได้ไม่เกิน 25%
  • กองทุนรวมผสมต่างประเทศ – Foreign Investment Allocation คล้ายๆตัวแรก Aggressive Allocation แต่ลงในต่างประเทศได้ มีสัดส่วนตราสารทุนต่างประเทศ 0-100%

กลุ่มกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ / Infra / REIT
       กลุ่มนี้สำหรับคนที่อยากลงทุนในหมวดหมู่อสังหาริมทรัพย์แบบต่างๆ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ห้างสรรพสินค้า สนามบิน รวมไปถึงลงทุนในโปรเจคโครงสร้างพื้นฐาน เหมาะแก่การกระจายความเสี่ยงจากสินทรัพย์หลักเช่น หุ้น หรือ ตราสารหนี้ด้วย

  • Thai Free Hold ลงทุนในกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ของไทย
  • Thai Lease Hold ลงทุนในสิทธิการเช่าในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิในการใช้ประโยชน์ของทรัพย์สิน
  • Thai Mixed (between free and leased hold) เป็นกองที่ลงผสมจากสองแบบข้างต้น
  • Fund of Property fund – Thai ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ REIT กองทุน Infrastructure (โครงสร้างพื้นฐาน) ที่เน้นลงทุนในประเทศโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
  • Fund of Property fund – Thai and foreign เหมือนตัวข้างบน แต่ลงทุนในต่างประเทศบางส่วนสัดส่วน 20% – 80%
  • Fund of Property fund – Foreign เหมือนตัวข้างบนอีกเช่นกัน แต่ลงต่างประเทศ 80% ขึ้นไป

กลุ่มกองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities)
      กลุ่มนี้ลงทุนในตัวสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ น้ำมัน เงิน สินค้าเกษตร มีความผันผวนสูงมาก แต่สามารถใช้เป็นการกระจายความเสี่ยงได้เช่นกัน

  • Broad Composite Commodities Index ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสินค้าโภคภัณฑ์ตามดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ร่วม (Broad Commodities Index) ซึ่งดัชนีนี้ที่จริงก็มีทำอยู่หลายเจ้า ยกตัวอย่างเช่นของ S&P GSCI ลองดูสัดส่วนได้ตามนี้ครับ คลิก
  • Commodities Energy สินค้าโภคภัณฑ์ด้านพลังงานเช่น น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ และ ถ่านหินเป็นต้น ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อมผ่านตราสารหรือสัญญาที่ให้ผลตอบแทนอ้างอิงกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ดังกล่าว
  • Commodities Precious Metal เน้นโลหะมีค่า เช่น ทองคำ เงิน แพลตินัม เป็นต้น
  • Commodities Agriculture เน้นสินค้าโภคภัณฑ์ด้านเกษตรกรรม
     นอกจากนี้ยังมีกลุ่มกองทุนรวมที่ไม่สามารถจัดกลุ่มได้เรียกว่า Miscellaneous อีกบางส่วน สนใจเปิดพอร์ทกองทุนรวม คลิกที่นี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น